ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


    ในปัจจุบันนวัตกรรมหุ่นยนต์ ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาเติมเต็มความต้องการของโลกยุคใหม่ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น เริ่มจะมีหุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียน แต่สำหรับสถานที่ซึ่งหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญก่อนใครเพื่อน ก็คงจะหนีไม่พ้นในโรงงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์อเนกประสงค์


    เป็นหุ่นยนต์หุ่นยนต์ที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแขนกล ที่หยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่น และยังอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่องานในบางลักษณะ เช่น การประกอบชิ้นงานที่มีความละเอียด งานด้านการตรวจสอบต่าง ๆ


2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


    อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่วมกันและแทนที่หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมที่ยุ่งยากและไม่ยืดหยุ่น



3.หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


    หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตาม
ความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
- อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
- อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
- อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล



4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ


    ตัวหุ่นยนต์มาพร้อมเทคโนโลยี LiDAR สามารถเรียนรู้ตำแหน่ง ตรวจจับวัตถุ และสร้างเส้นทางการเดินได้เองเสมือนรถยนต์ไร้คนขับ

ทาง เอ็มเค กรุ๊ป ยังย้ำด้วยว่า หุ่นยนต์สามารถเสิร์ฟอาหารให้กับลูกค้าได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย การเดินเสิร์ฟราบรื่น (Smooth Mode) เดินเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มได้ทุกรูปแบบไม่สะดุดเพราะมีเซนเซอร์ที่ทันสมัย

    นอกจากเดินเสิร์ฟอาหารแล้ว ตัวหุ่นยนต์ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ คือ
1.Ads Promotion นำเสนอสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟต่างๆ หรือโปรโมชันใหม่ ด้วยสื่อรูปแบบวิดีโอและภาพนิ่งได้ที่โต๊ะของลูกค้า
2.Butler Service เสริมด้วยบริการเชิญลูกค้าเข้ามาในร้าน และพาไปส่งถึงโต๊ะได้
3.Dish Collection Service ช่วยทำหน้าที่เก็บจานในช่วงที่หุ่นยนต์ว่าง
4.มีความเป็นกันเองกับลูกค้า ด้วยฟังก์ชั่นเอ็นเตอร์เทน เช่น ร้องเพลงระหว่างเดินเสิร์ฟ ซึ่งอนาคตสามารถต่อยอดให้ร้องเพลงวันเกิดที่โต๊ะลูกค้าได้
5.เริ่มติดตั้ง Cover หรือฝาปิด เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะอาดของอาหาร (Food Hygiene)
 

 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องจักร NC CNC DNC

เครื่องจักร NC เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.      ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว. เครื่องจักร CNC      เครื่อง CNC=Computer Numerical Control เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม           เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่

เทคโนโลยีการสื่อสาร

5G กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการแพทย์ การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G   เป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก 5G เป็นปัจจัยสำคัญ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital transformation)      สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 10 เท่า เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจในระยะยาว เทคโนโลยี 5G ถือเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปและพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ยุคดิจิทัล โดยหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยคือ อุตสาหกรรมการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Telemedicine) เป็นต้น คุณสมบัติของ 5G 5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็วอัพโหลดและดาวน์โหลดบนเครือข่ายไร้สายให้เสถียรและเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 10 กิกะบิทต่อวินาที (Gbps) ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1 Gb