ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนโลยีการสื่อสาร

5G กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการแพทย์

การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G 
เป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก 5G เป็นปัจจัยสำคัญ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital transformation)


    สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 10 เท่า เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจในระยะยาว เทคโนโลยี 5G ถือเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปและพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ยุคดิจิทัล โดยหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยคือ อุตสาหกรรมการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Telemedicine) เป็นต้น

คุณสมบัติของ 5G
5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็วอัพโหลดและดาวน์โหลดบนเครือข่ายไร้สายให้เสถียรและเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 10 กิกะบิทต่อวินาที (Gbps) ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1 Gbps เท่านั้น

การประยุกต์ใช้ 5G ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์
    ในปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาโรคนั้น มีเพียงทางเลือกเดียว คือผู้ป่วยต้องเดินทางไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก แต่สำหรับผู้คนในพื้นที่ห่างไกล อาจต้องใช้เวลานานในการเดินทางหรืออาจเป็นไป ไม่ได้เลย ดังนั้น Telemedicine และระบบตรวจสอบติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล จึงมีความสำคัญในการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุขของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม Telemedicine และระบบตรวจสอบติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล จำเป็นต้องมี การส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วระดับ Gbps เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ภาพที่มีความละเอียดสูง และ การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ซึ่งมีจำนวนข้อมูลบนเครือข่ายมหาศาล โดย 5G สามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ได้ และในปัจจุบันมีแนวโน้มการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์

ประโยชน์และข้อจำกัดของการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์

    ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์ของไทย ประการแรกคือ การที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายด้านการแพทย์ที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากแต่มีคุณภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขัน และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางการแพทย์ในลำดับต้นๆ ของโลก ประการที่สองคือ การสร้างโอกาส การเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างเท่าเทียมและสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการดูแลจากจากโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ อย่างไรก็ตามแม้การประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์จะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่ยังไม่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังมีปัญหาในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ รวมถึงความเชื่อมั่น ของคนไข้ในพื้นที่ห่างไกลในการรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

ข้อดี
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้รวดเร็ว
- สั่งการได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณ 5 G
- ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก
- สามารถติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล โดยการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วระดับ Gbps

ข้อเสีย
- สัญญาณ 5G ยังไม่ได้ครอบคลุมในที่พื้นที่
- สัญญาณยังไม่ค่อยสเถียร
- การเชื่อมต่อ 5G มีราคาที่ค่อนข้างสูง

ผลกระทบต่อตัวเราเอง
ถ้า 5G ด้านการแพทย์เกิดขึ้นจะทำให้ตัวเราสามารถรับการรักษาที่รวดเร็วไม่ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ห่างจากบ้านของเรา

สรุป
    การประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์ ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์วินิจฉัยโรค อย่างรวดเร็ว พัฒนาการรักษาแบบ Telemedicine โดยใช้ AR และ VR การประยุกต์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรค และการติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล ซึ่งถือเป็นการพัฒนาบริการด้านการแพทย์อย่างก้าวกระโดด แต่อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ทางด้านการแพทย์นั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ การจัดเก็บและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความตระหนักการรับรู้แก่ประชาชน เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลด้านการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องจักร NC CNC DNC

เครื่องจักร NC เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.      ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว. เครื่องจักร CNC      เครื่อง CNC=Computer Numerical Control เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม           เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม 1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม      ในปัจจุบันนวัตกรรมหุ่นยนต์ ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาเติมเต็มความต้องการของโลกยุคใหม่ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น เริ่มจะมีหุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียน แต่สำหรับสถานที่ซึ่งหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญก่อนใครเพื่อน ก็คงจะหนีไม่พ้นในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์อเนกประสงค์      เป็นหุ่นยนต์หุ่นยนต์ที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแขนกล ที่หยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่น และยังอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่องานในบางลักษณะ เช่น การประกอบชิ้นงานที่มีความละเอียด งานด้านการตรวจสอบต่าง ๆ 2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์      อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่